การขยายเพาะพันธุ์ปลาคาร์ฟ


ประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการ ศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ 

ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ฟลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่น ปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่ สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ 

ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ 

สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ฟสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่




การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การที่จะเพาะปลาคาร์ฟจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนี้ 

1.คุณภาพของปลาที่จะเป็นพ่อแม่ รูป ทรงและสีสันของปลาที่ดีจะต้องได้มาจากสายพันธุ์ พันธุกรรมของพ่อแม่ที่ดี หรือเรียกว่า สายพันธุ์นิ่ง คือพ่อแม่พันธุ์หน้าตาเป็นอย่างไร ลูกที่ออกมามักจะได้แบบนั้นเป็นส่วนใหญ่ ปลาที่มีสายพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ดูง่ายๆคือ เวลาออกลูกมาแล้วมีหน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่พันธุ์เลย

2.เพศของปลา ต้องรู้ว่าตัวไหนผู้ ตัวไหนเมีย ปลาตัวเมียจะตัวอ้วนๆสั้นๆ ครีบอกจะเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว ตัวผู้ผอมยาว ครีบอกใหญ่กว้างกว่า ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่แข็งแรงพร้อมที่จะทำงานจะมีตุ่มเล็กๆใสๆที่บริเวณ หัวและครีบอก เวลาจับคู่มักใช้ตัวเมีย 1 ตัวกับตัวผู้ 2 ตัว เพราะตัวเมียจะมีไข่มาก ตัวผู้จะได้ปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ได้ทัน
3.อายุของปลา พ่อแม่พันธุ์ใช้อายุ 4-5 ปี ลำตัวยาวมากกว่า 10-12 นิ้ว ปลาอายุน้อยจะมีเปลือกไข่บาง เมื่อผสมแล้วไข่มักจะเสียก่อนฟักเป็นตัว ปลาแก่เกินไปเปลือกไข่หนา สเปิร์มเจาะเข้าไปไม่ได้
4.ฤดูกาลผสมพันธุ์ จะ เป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน ประเทศไทยจะได้เปรียบกว่าญี่ปุ่นเพราะประเทศไทยเราร้อนนานกว่าผสมได้นาน ฤดูหนาวญี่ปุ่นจะไม่ได้ทำการเพาะเลย บ้านเรามีอุณหภูมิที่เหมาะสม


5.บ่อผสมพันธุ์ กัก น้ำประปาทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน ให้คลอรีนสลายตัวให้หมด จะได้น้ำสะอาดไม่มีเชื้อโรค เอาเชือกฟางมาทำเป็นพู่ แล้วผูกติดกับท่อให้จมน้ำ ปลาจะไข่ติดกับเชือกฟาง เอาหัวทรายที่ต่อจากปั๊มลมใส่ลงไปในน้ำมีออกซิเจนมากๆ อย่าใช้ปั๊มแบบดูดน้ำพ่น เพราะจะดูดไข่และลูกปลาตายหมด
6.การปล่อยผสม เอา ปลาที่ท้องป่อง 2 ตัวกับตัวผู้ใส่ลงอ่าง หาอะไรมาปิดบังแสง ไม่ให้ถูกรบกวน กันปลากระโดด อย่าตั้งกลางแดด ให้อาหารทุกวันแต่อย่ามากเกินไป ปลาจะวางไข่ติดที่เชือกฟางเป็นเม็ดใสๆ ภายใน 3-7 วัน ปลาท้องแฟบแล้วเอาพ่อแม่ปลาออก เพราะจะกินไข่และลูกหมด
7.การฟักไข่ ต้อง ให้อากาศตลอดเวลา ดูดเศษตะกอนพื้นบ่อกันน้ำเสีย ตัวอ่อนจะพัฒนาในไข่จะเห็นจุดดำๆในไข่คือลูกตา ภายใน 2-3 วันลูกปลาฟักออกจากไข่ จะเกาะติดกับพื้นหรือผนังด้านข้างเห็นเป็นเส้นดำๆเล็กๆ ระยะนี้จะไม่กินอาหารจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ท้องหมดประมาณ 3-4 วัน
8.การอนุบาล ใน วันที่ 4 ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำขึ้นมา เริ่มให้อาหาร นิยมใช้ไข่แดงต้มสุกป่นให้กิน จะเกิดการกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ให้ไข่แดงต้มนานประมาณ 7วัน อย่าให้มากเกินจะทำให้น้ำเน่า ทำให้ปลาตาย วิธีให้อาหารทีละน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือ 5-6 ครั้งต่อวัน ถ้าเห็นว่าน้ำจะเน่าเสีย รีบถ่ายน้ำ 20-30% ระวังอย่าดูดลูกปลาออก เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 2 ใช้อาหารปลาลอยน้ำที่มี สาหร่ายสไปรูลิน่า โปรตีน โปรไบโอติคกับเบต้ากลูแคนผสมอยู่มาบดละเอียดคลุกผสมกับไข่แดงต้มโรยให้ ลูกปลากิน 3-4 วัน ลูกปลาเริ่มรู้จักอาหาร อาหารโปรตีนสูงลูกปลาจะย่อยได้ดีกว่าอาหารโปรตีนต่ำๆ หลังจากนั้นหยุดให้ไข่แดงต้ม เหลือแต่อาหารบดอย่างเดียว โปรไบโอติคจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลูกปลา ช่วยยับยั้งให้จุลินทรีย์ที่ก่อโรคไม่เจริญเติบโต สไปรูลิน่าและเบต้ากลูแคน จะช่วยให้ลูกปลามีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี
9.การคัดลูกปลา ลูกปลา อายุ 1 เดือน เลือกลูกปลาที่ผิดปกติ ป่วย ทรงเสียออกจากลูกปลาที่มีคุณภาพ ส่วนสีของปลาจะดูช่วงนี้ไม่ได้ เพราะสีจริงยังไม่แสดงออก ตำแหน่งสีดำจะกลายเป็นสีแดงเมื่อปลาโตขึ้น
ทราบถึงปัจจัย ต่างๆเป็นเกณฑ์กำหนดในการคัดเลือกให้ได้ปลาที่มีคุณภาพ ตลอดจนแนะนำให้เพื่อนที่ต้องการจะทดลองเลี้ยงปลาให้ได้คุณภาพที่สมบูรณ์ ตลอดจนนำปลาที่มีคุณภาพมาจำหน่ายในท้องตลาดที่ได้รับความนิยม



อัตราการปล่อยปลาลงบ่อเลี้ยงโดยเฉลี่ย 2,000 – 25,00 ตัวต่อตารางเมตร จะทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของลูกปลามีสูง บ่อที่เตรียมปล่อยลูกปลาถ้าเป็นบ่อดินและนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้นั้น ต้องแน่ใจว่า กำจัดศัตรูของลูกปลาหมดแน่นอนแล้ว เช่น กุ้ง ปลาทุกชนิดที่ติดมากับน้ำที่ปล่อยเข้าบ่อ โดยใช้ยากำจัดหาได้จากร้านขายเคมีการเกษตรเพราะมีหลายชนิดให้เลือกใช้ น้ำในบ่อควรเริ่มที่น้ำลึก 40 ซม.แต่ควรมีความลึกไม่เกิน 80 ซม. แสงแดดจะเป็นตัวทำให้แพลงตอนพืชเจริญเติบโต และและแพลงตอนสัตว์ก็จะกินแพลงตอนพืช และลูกปลาก็จะกินแพลงตอนสัตว์เพื่อการเจริญเติบโตอีกทอดหนึ่ง เมื่อลูกปลาอายุได้ 40 วัน ก็จะเริ่มคัดเลือกเอาปลาที่มีคุณภาพที่ไม่ดีออก 20% อีก 1 เดือนจึงคัดออกอีก 50% และอีก 50% ในอีก 1 เดือนต่อมา ในจำนวนปลาที่เหลืออาจจะมีปลาที่มีลักษณะดี และสามารถส่งเข้าประกวดได้เพียงแค่ตัวเดียวหรือไม่มีเลยก็ได้